การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาการคํานวณ ระดับอนุบาล

กระทรวงศึกษาธิการตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้ทันต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สภาพแวดล้อม และความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ซึ่งปัจจุบันระบบการศึกษาทั่วโลกให้ความสาคัญต่อการสอนเทคโนโลยีในโรงเรียน โดยเฉพาะการสอนวิทยาการคำนวณที่เป็นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดเชิงคำนวณ การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสร้างสรรค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ) จึงมอบนโยบายให้สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้วิทยาการคานวณในสถานศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาล เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะของคนไทย 4.0 สามารถสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยีให้กับประเทศ ตอบสนองวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

รัฐบาลภายใต้การนาของนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) ได้มอบหมายให้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ) จัดทาหลักสูตรการเรียนการสอน
วิทยาการคานวณ (Computing Science) โดยฝึกให้เด็กมีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบและมีความคิด
สร้างสรรค์ตั้งแต่ระดับอนุบาล เพื่อสร้างนักวิจัยใหม่และนวัตกรของประเทศในอนาคต และปัจจุบันระบบ
การศึกษาทั่วโลกให้ความสาคัญต่อการเรียนการสอนวิทยาการคานวณ (Computing Science) ซึ่งประกอบด้วย
วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และการรู้ดิจิทัล
(Digital Literacy)

สำหรับการเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) ในระดับอนุบาลมีจุดเน้น 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 การใช้การคิดเชิงคำนวณ (Computational thinking) เพื่อการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ซึ่งประกอบไปด้วย การแบ่งปัญหาใหญ่ออกเป็นปัญหา/งานย่อย (Decomposition) การพิจารณารูปแบบของปัญหาหรือวิธีการแก้ปัญหา (Pattern recognition) การพิจารณาสาระสำคัญของปัญหา (Abstraction) และการออกแบบอัลกอริทึม (Algorithms) และส่วนที่ 2 การเขียนโปรแกรม (Programing) โดยเน้นการเขียนโค้ด (Coding) แบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้วิทยาการคอมพิวเตอร์ในระดับอนุบาลไว้ 3 ประการ คือ (1) แก้ปัญหาอย่างง่ายได้ (2) แสดงลำดับขั้นตอนการทำงานโดยใช้ภาพ และ/หรือสัญลักษณ์ และ (3) เขียนโค้ดอย่างง่ายโดยใช้สื่อแบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์ผ่านการเล่นโดยกำหนดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กอนุบาลเรียนรู้ทักษะและแนวคิดที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญผ่านกิจกรรมการลงมือกระทำ (Active Learning) การเล่น (Play) และกิจกรรมบูรณาการภาษา วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะการปูพื้นฐานแนวคิดและทักษะเกี่ยวกับ แบบรูป การแก้ปัญหา การใช้ตัวแทน และการเรียงลำดับของสิ่งต่างๆ

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ
  2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์ การคิดเชิงคำนวณ และการเขียนโค้ดแบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์
  3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาการคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560
  4. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถวิเคราะห์ตัวอย่างกิจกรรมได้
  5. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความเข้าใจการนิเทศการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณระดับอนุบาลด้วยกระบวนการ PLC

วิดีโอการฝึกอบรม

1. วิทยาการคำนวณเบื้องต้น โดย ดร.กานจุลี ปัญญาอินทร์

2. รู้จักการคิดเชิงคำนวณและการเขียนโค้ด

3. การจัดประสบการณ์และกิจกรรมพื้นฐาน

4. กิจกรรมเกาะแสนสุข

5. เป็นหุ่นยนต์ดูสักครั้ง part 1

6. เป็นหุ่นยนต์ดูสักครั้ง part 2

7. การนิเทศการจัดการเรียนรู้ PLC

You may also like...