คู่มือการจัดทําแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการ มีการปฏิรูประบบการประเมินและการประกันคุณภาพการศึกษา โดยมีการปรับปรุงมาตรฐานและประเด็นพิจารณาให้สะท้อนถึงคุณภาพอย่างแท้จริง กำหนดเกณฑ์และรายการประเมินแบบองค์รวม (Holistic Assessment) ซึ่งเป็นการประเมินโดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ (Evidence Based) ลดภาระการจัดทำเอกสารที่ใช้ในการประเมิน ยึดหลักการตัดสินระดับคุณภาพตามหลักการตัดสินโดยอาศัยความเชี่ยวชาญ (Expert Judgment) ของผู้ประเมิน และใช้การตรวจทานผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินในระดับเดียวกัน (Peer Review) ปรับกระบวนทัศน์ในการประเมินที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาบนพื้นฐานบริบทของสถานศึกษา มีการประกาศใช้กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ในการปรับปรุงระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อให้มีกลไกการปฏิบัติที่เอื้อต่อการดำเนินการตามมาตรฐานการศึกษา ของแต่ละระดับและเกิดประสิทธิภาพในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และประกาศใช้มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ ประกาศ ณ วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2561 เพื่อเป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับสถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัด และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั้งประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน กำกับดูแล และติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา

แหล่งข้อมูล : สำนักทดสอบทางการศึกษา

You may also like...