นิยามความสามารถของผู้เรียน ด้านภาษา ด้านคํานวณ และด้านเหตุผล

นิยามความสามารถของผู้เรียน ด้านภาษา ด้านคํานวณ และด้านเหตุผล (Literacy, Numeracy & Reasoning Abilities) โครงการประกันคุณภาพการศึกษาและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน

การประเมินคุณภาพการศึกษาของผู้เรียนเป็นส่วนหนึ่งของการประกันคุณภาพการศึกษา ผลการประเมินผู้เรียนเป็นสิ่งสะท้อนว่าการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ บรรลุผลสําเร็จอยู่ในระดับใด กล่าวคือ ภาพรวมความสําเร็จของผู้เรียน มีความสามารถเป็นที่น่าพึงพอใจในด้านใด และควรเร่งพัฒนาความรู้ ความสามารถ ทักษะหรือสมรรถนะของผู้เรียนในด้านใดบ้าง ในช่วง ๒-๓ ปีที่ผ่านมาสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงกําหนดจุดเน้นการพัฒนาที่เกี่ยวกับคุณภาพผู้เรียนในเรื่องสําคัญอันดับแรก คือ การพัฒนาทักษะความสามารถในการอ่าน การเขียน การคิดเลขเป็น รวมทั้งทักษะการคิดขั้นพื้นฐานในแต่ละช่วงชั้น โดยช่วงชั้นที่ ๑ (ป.๑-๓) เน้นการอ่านออก เขียนได้คิดเลขเป็น ช่วงชั้นที่ ๒ (ป.๔-๖) เน้นการอ่านคล่อง เขียนคล่อง คิดเลขคล่อง ด้วยเหตุนี้สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงมีนโยบายให้ประเมินความสามารถพื้นฐานที่จําเป็น ๓ ด้าน ได้แก่ ด้านภาษา (Literacy) ด้านคํานวณ (Numeracy) และด้านเหตุผล (Reasoning Abilities) ซึ่งเป็นความสามารถเบื้องต้นของทักษะการคิดและสอดคล้องกับกระแสการพัฒนาการศึกษาของนานาอารยประเทศ ดังนั้น เพื่อให้การประเมินและการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เข้าใจตรงกัน สํานักทดสอบทางการศึกษาจึงกําหนดนิยามความสามารถทั้ง ๓ ด้าน เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับชาติรวมทั้งสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาด้วย

สํานักทดสอบทางการศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอขอบคุณคณะทํางานและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่านิยามความสามารถของผู้เรียนด้านภาษาด้านคํานวณและด้านเหตุผล (Literacy, Numeracy & Reasoning Abilities) ฉบับนี้จะเกิดประโยชน์กับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนต่อไป

ที่มา : สํานักทดสอบทางการศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

You may also like...