หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2564

องค์ประกอบของหลักสูตรด้านทุจริตศึกษา

จุดมุ่งหมาย

  1. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม
  2. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต
  3. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต
  4. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม
  5. สามารถคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวมได้
  6. ปฏิบัติตนเป็นผู้ละอายและไม่ทนต่อการทุจริตทุกรูปแบบ
  7. ปฏิบัติตนเป็นผู้ที่ STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต
  8. ปฏิบัติตนตามหน้าที่พลเมืองและมีความรับผิดชอบต่อสังคม
  9. ตระหนักและเห็นความสาคัญของการต่อต้านและป้องกันการทุจริต

คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาเกี่ยวกับการแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต รู้หน้าที่ของพลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม ในการต่อต้านการทุจริต
โดยใช้กระบวนการคิด วิเคราะห์ จาแนก แยกแยะ การฝึกปฏิบัติจริง การทาโครงงานกระบวนการ เรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) การอภิปราย การสืบสอบ การแก้ปัญหา ทักษะการอ่านและการเขียน เพื่อให้มีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการต่อต้านและการป้องกันการทุจริต

ผลการเรียนรู้

  1. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม
  2. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต
  3. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต
  4. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม
  5. สามารถคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวมได้
  6. ปฏิบัติตนเป็นผู้ละอายและความไม่ทนต่อการทุจริตทุกรูปแบบ
  7. ปฏิบัติตนเป็นผู้ที่ STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต
  8. ปฏิบัติตนตามหน้าที่พลเมืองและมีความรับผิดชอบต่อสังคม
  9. ตระหนักและเห็นความสำคัญของการต่อต้านและป้องกันการทุจริต

แนวทางการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้

  1. เปิดรายวิชาเพิ่มเติม
  2. บูรณาการการเรียนการสอนกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  3. บูรณาการการเรียนการสอนกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
  4. จัดเป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
  5. จัดเป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตร หรือบูรณาการกับวิถีชีวิตในโรงเรียน

การขับเคลื่อนการนำหลักสูตรสถานศึกษาไปใช้ในสถานศึกษา

  1. ผู้บริหาร ศึกษา หลักสูตรสถานศึกษา/คู่มือฯ/แผนการจัดการเรียนรู้
  2. ประชุมครูทุกคนในโรงเรียน
  3. เลือกแนวทางการนาหลักสูตรไปใช้
  4. จัดตารางสอบ
  5. ครูนำหลักสูตรฯ ไปสอนในชั้นเรียน
  6. ผู้บริหาร หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย นิเทศ ติดตาม การสอนของครูในโรงเรียน
  7. ครูประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นักเรียนเป็นรายบุคคลและสรุปเป็นรายชั้น
  8. ผู้รับผิดชอบสรุปผลการประเมินทุกขั้น เป็นภาพรวมของโรงเรียน ส่ง สพท.
  9. สพท. สรุปผลการประเมินของทุกโรงเรียนเป็นภาพรวมของ สพท. ส่ง สพฐ.

You may also like...