โครงการวิจัย ผลการทดลองใช้กรอบสมรรถนะผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

รายงานฉบับนี้เป็นรายงานการวิจัยในโครงการ “ผลการทดลองใช้กรอบสมรรถนะผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน” ซึ่งเป็นการดำเนินงานศึกษาวิจัยโดยคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานเลขาธิการสภ าการศึกษา มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ (1) จัดทำแนวทางการนำกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน (2) ศึกษาผลการนำกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4– 6 สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานไปทดลองใช้จริงในสถานศึกษากลุ่มเป้าหมาย และ (3) จัดทำข้อเสนอในการปรับปรุงกรอบสมรรถนะหลักและข้อเสนอเชิงนโยบายในการขับเคลื่อนการนำกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนสำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การปฏิบัติ ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาฐานสมรรถนะ การพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ตลอดจนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะและการพัฒนาสมรรถนะสำคัญแก่ผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 ต่อไป

คณะผู้วิจัยขอขอบคุณสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาที่ได้ให้การสนับสนุนการวิจัยครั้งนี้ รวมถึงขอพระขอบคุณผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ทิศนา แขมมณี ที่ปรึกษา คณะวิทยากร คณะผู้เชี่ยวชาญ คณะทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งขอขอบคุณในความร่วมมืออันดียิ่งของคณะครูและผู้บริหารในสถานศึกษากลุ่มเป้าหมายที่ได้ร่วมเรียนรู้และพัฒนางานร่วมกันตลอดระยะเวลาหลายเดือนของการดำเนินการวิจัยท่ามกลางวิกฤตของสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 รวมทั้งขอขอบคุณนิสิตดุษฎีบัณฑิตและนิสิตมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยา ลัย ที่ได้เสียสละและมีจิตอาสาในการช่วยเหลือเกื้อกูลจนการวิจัยครั้งนี้สำเร็จสมบูรณ์ตามวัตถุประสงค์

การวิจัยเรื่อง “ผลการทดลองใช้กรอบสมรรถนะผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน”นี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย ได้แก่ (1) เพื่อจัดทำแนวทางการนำกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน สู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน (2) เพื่อศึกษาผลการนำกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4– 6 สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานไปทดลองใช้จริงในสถานศึกษากลุ่มเป้าหมาย และ (3) เพื่อจัดทำข้อเสนอในการปรับปรุงกรอบสมรรถนะหลักและข้อเสนอเชิงนโยบายในการขับเคลื่อนการนำกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนสำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การปฏิบัติ การดำเนินการวิจัยใช้การวิจัยเชิงสำรวจที่มุ่งเน้นการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากพหุกรณีศึกษาด้วยวิธีการที่และเครื่องมือที่หลากหลาย ได้แก่ การศึกษาภาคสนาม การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการใช้แบบสอบถาม เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงการดำเนินงานของสถานศึกษาในการนำกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4– 6 ไปทดลองใช้ในบริบทของหลักสูตรสถานศึกษาที่เป็นอยู่และในการจัดการเรียนการสอนตามปกติของตน

ที่มา : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

You may also like...