มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ

ปฐมวัยเป็นวัยเริ่มต้นของชีวิตและพัฒนาการในทุกด้าน เป็นช่วงวัยที่พัฒนาการทางด้านต่างๆ เป็นไปอย่างรวดเร็วที่สุดและเป็นฐานรากที่สําคัญสําหรับพัฒนาการในช่วงวัยต่อๆไป เด็กในวัยนี้จึงเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีความสําคัญอย่างยิ่งของประเทศ เด็กปฐมวัยที่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมตามช่วงวัยจะสามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพและจะเป็นกําลังสําคัญของประเทศชาติต่อไปในอนาคต ดังคํากล่าวของ ศ.ดร.เจมส์เจ เอคแมน นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ปีพ.ศ. ๒๕๔๒ ที่ว่า “การลงทุนพัฒนาเด็กปฐมวัย เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าให้ผลตอบแทนแก่สังคมที่ดีที่สุดในระยะยาว”ดังนั้น การพัฒนาเด็กปฐมวัยจึงเป็นรากฐานที่มีผลต่อคุณภาพและประสิทธิภาพของคนตลอดชีวิตและเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด กล่าวคือ เด็ก เยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีมีความสามารถเรียนรู้ทํางานได้เก่ง และเป็นพลเมืองดีที่จะนําสู่ความสําเร็จในสังคมที่ท้าทายในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องได้รับโอกาสการพัฒนาอย่างรอบด้านในช่วงปฐมวัย แต่คุณภาพของเด็กปฐมวัยยังเป็นจุดอ่อนที่เข้าขั้นวิกฤตของประเทศไทย ที่จําเป็นต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน รัฐและทุกภาคส่วน พ่อแม่ผู้ปกครอง ครอบครัว ชุมชน สังคม บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ครู/ผู้ดูแลเด็ก โรงเรียน องค์กรท้องถิ่นทุกระดับ บุคลากรพัฒนาสังคมทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคศาสนาและภาคธุรกิจ จึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในความสําคัญของช่วงปฐมวัย ตระหนักใน พันธกิจและลงมือช่วยกันทําให้เด็กปฐมวัยมีโอกาสพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพในภาวะแวดล้อมที่ปลอดภัย

“เด็กปฐมวัย” ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาเด็กปฐมวัยพ.ศ. ๒๕๕๑ ได้ให้ความหมายของเด็กปฐมวัยว่า หมายถึง เด็กซึ่งมีอายุยังไม่ครบหกปีบริบูรณ์และให้หมายความรวมถึงทารกในครรภ์มารดาด้วยอุดมการณ์และหลักการในการจัดการศึกษาเด็กปฐมวัยของชาติ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้ให้ความสําคัญกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยไว้หลายมาตรา คือมาตรา ๕๔ วรรคสอง กําหนดว่า “…รัฐต้องดําเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษา เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย โดยส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการดําเนินการด้วย”

มาตรา ๒๕๘ ให้ดําเนินการปฏิรูปประเทศให้เกิดผล จ. ด้านการศึกษา (๑) ให้สามารถเริ่มดําเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษา ตามมาตรา ๕๔ วรรคสอง เพื่อให้เด็กเล็กได้รับการพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัยโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๒(พ.ศ. ๒๕๔๕) และฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๓) มาตรา ๑๘ (๑) กําหนดให้การจัดการศึกษาปฐมวัยจัดในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ได้แก่ ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนเกณฑ์ของสถาบันศาสนา ศูนย์บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของเด็กพิการและเด็กซึ่งมีความต้องการพิเศษหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมาตรา ๑๓ (๑) ให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ในการสนับสนุนจากรัฐ ให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและการให้การศึกษาแก่บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแล

แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๙ ในยุทธศาสตร์ที่ ๓ การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้เป้าหมาย ข้อ๓.๓สถานศึกษาทุกระดับการศึกษาสามารถจัดกิจกรรม/กระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรอย่างมีคุณภาพและมาตรฐานมีตัวชี้วัดที่สําคัญ เช่น ศูนย์เด็กเล็ก/สถานศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้คุณภาพและมาตรฐานเพิ่มขึ้น สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย และสมรรถนะของเด็กที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานคุณภาพเด็กปฐมวัยของอาเซียนเพิ่มขึ้น สถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ เพิ่มขึ้นโดยแนวทางการพัฒนาส่งเสริมให้เด็กเล็ก (๐-๒ ปี) ได้รับการดูแลและพัฒนาที่สมวัยรอบด้านอย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง มีการปรับระบบการบริหารจัดการการดูแลและพัฒนาเด็กเล็ก (๐-๒ ปี) และการศึกษาปฐมวัย (๓-๕ ปี) ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน รวมทั้งพัฒนาหลักสูตรและคู่มือการเตรียมความพร้อมพ่อแม่ และการเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กเล็กให้มีพัฒนาการตามวัย และพัฒนาหลักสูตรการศึกษาระดับปฐมวัย สมรรถนะเด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับ

ไฟล์คู่มือมาตรฐานสถานศึกษาพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ไฟล์ PDF โดยสำนักเลขาธิการสภาการศึกษา

แหล่งที่มา : เว็บไซต์สำหรับวิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้

You may also like...